ยินดีตอนรับเข้าสู้blogเทคนิคการสร้างเครือนข่ายในการจัดการเรียนรู้

การจัดการเรียนรู้


รื่อง  การกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นที่เอื้อต่อการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อการศึกษา

              แนวคิดในการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อจัดการศึกษา
แนวคิดในการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อจัดการศึกษา ปรากฏใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (.. 2545.. 2549) สรุปได้ดังนี้ (2545:  12 – 23)
               แนวทางการพัฒนาในระยะ ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คือการสร้างกระบวนการชุมชนเข้มแข็งจากฐานรากทั้งในชนบทและเมืองผ่านเครือข่ายการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาจากทุกภาค ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อการศึกษาตามแนวทางการพัฒนามีดังนี้
                 ประการแรก  ส่งเสริมการรวมตัวของชุมชนและประชาสังคม  อาศัยกลุ่มแกนวิทยากรกระบวนการจากทุกภาคทุกส่วน จัดให้มีเวทีสร้างความเข้าใจ เรียนรู้และดำเนินกิจกรรมกลุ่มร่วมกันอย่างต่อเนื่อง ควบคู่การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้คนในชุมชนได้รับการศึกษาพื้นฐานที่สอดคล้องกับศักยภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรม ได้รับการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการและปฏิบัติเป็นอาชีพได้ตลอดจนสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อการเรียนรู้ให้เท่าทันโลก พยายามค้นหาศักยภาพของชุมชนให้สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นเป็นแกนประสานรวบรวมองค์ความรู้ในพื้นที่ ทำวิจัยร่วมกับชุมชนเพื่อจัดทำแผนที่การตั้งถิ่นฐาน แสดงทุนทางสังคม เศรษฐกิจและทรัพยากร ควบคู่กับการสร้างฐานข้อมูลและจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของชุมชน และสนับสนุน ให้ชุมชนจัดทำแผนชุมชนอย่างมีส่วนร่วมที่จะนำศักยภาพ ปัญหามาวิเคราะห์ กำหนดกิจกรรมดำเนินงานตามความสามารถของชุมชนและพึ่งพาทรัพยากรที่มีอยู่เป็นหลัก
              ประการที่สอง  การสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดี เพื่อพัฒนาคุณภาพ วิถีชีวิตของคนในเมืองและชุมชนโดยการให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นและสถาบันการศึกษาสนับสนุนการรวมกลุ่มของชุมชนและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ในการมีส่วนร่วม เฝ้าระวัง ฟื้นฟู รักษาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งอนุรักษ์มรดกทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เพื่อคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะที่ดีงาม วิถีชีวิตและจิตวิญญาณของเมืองและชุมชนตลอดจนพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์ความรู้ของชุมชนที่สั่งสมมานาน มีการปรับใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม สามารถเชื่อมโยงกับการผลิตในสาขาต่างๆ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ โดยส่งเสริมให้มีการจัดทำระบบฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เชื่อมโยงทั่วถึง รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดเทคโนโลยีที่เหมาะสม และถ่ายทอดเชื่อมโยงสู่ชุมชนให้ใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
                  ประการที่สาม  ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่เป็นแกนประสานสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจ สร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบไปพร้อมกับการสร้างระบบการทำงานที่สร้างเครือข่ายกระบวนการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และดำเนินการพัฒนาอย่างสอดคล้องกับศักยภาพและความต้องการของชุมชน พร้อมทั้งหาทางแก้หาความยากจนในชนบทและเมืองภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม โดยให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง และสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติโดยการกระจายบริการ การศึกษา สาธารณสุขที่มีทางเลือกเหมาะกับวิถีชีวิตของคนยากจน เพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งความรู้ แหล่งข้อมูลข่าวสารให้มีสื่อเพื่อชุมชน มีเวทีสาธารณะเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ชาวบ้าน นอกจากนั้น ให้คนยากจนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่าได้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมและไม่ขัดต่อระเบียบ
                  ในด้านกฎหมาย  ได้วางแผนพัฒนาให้มีการปฏิรูปกฎหมายและระเบียบให้คนจนได้รับโอกาส สิทธิความเสมอภาคและความเป็นธรรมโดยผลักดันให้ปรับปรุง แก้ไขและยกร่างกฎหมายต่างๆที่จะเป็นเครื่องมือให้คนจนมีสามารถมีสิทธิและมีส่วนร่วม อาทิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การประกอบการจากภูมิปัญญาท้องถิ่นการดูแลการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
                   ประการที่สี่  การพัฒนาการเชื่อมโยงชนบทและเมืองอย่างเกื้อกูล เพื่อกระจายโอกาสการพัฒนาสร้างความมั่งคั่งให้คนในพื้นที่ และสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ในข้อนี้ได้กำหนดแนวทางการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อการศึกษา โดยวางแผนพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการทั้งในระดับชุมชนและท้องถิ่นให้เข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยรัฐร่วมกับเอกชนและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษา รวมทั้งจัดการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคนิคทางวิชาการที่สอดคล้องกับตลาดแรงงานและการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น ให้มีการจัดการพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมโดยเตรียมความพร้อมของกลไกลและองค์กรการจัดการพื้นที่ให้เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม โดยยึดพื้นที่ภารกิจและการมีส่วนร่วม นำไปสู่การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน โดยให้ภาครัฐปรับบทบาทเป็นผู้สนับสนุนประชาสังคมในการวางแผนระดับชุมชนที่ยึดประชาชนเป็นตัวตั้ง พร้อมทั้งปรับระบบงบประมาณให้เอื้อต่อการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้แก่ชุมชนที่เข้มแข็ง และชุมชนที่อ่อนแอได้เรียนรู้ร่วมกัน
                     ประการที่ห้า  วางแผนพัฒนาให้มีการเสริมสร้างเครือข่ายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท้องถิ่นและชุมชนในการเรียนรู้และการทำงานร่วมกัน ให้เกิดระบบที่ดี มีความโปร่งใส ไร้ทุจริต โดยส่งเสริมให้องค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง รวมทั้งสันนิบาตและสหพันธ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการสร้างเสริมขีดความสามารถของชุมชนและท้องถิ่น โดยประสานการทำงานและการเรียนรู้ในแนวราบระหว่างองค์กรชุมชนและส่วนท้องถิ่น กำหนดให้หน่วยงานส่วนกลางปรับกฎระเบียบให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานส่วนท้องถิ่นและชุมชนอย่างคล่องตัว สะดวกและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งฝึกอบรมและสร้างองค์ความรู้แก่ส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการวางแผน การบริหารและการปฏิบัติงานพัฒนา
                       ประการที่หก  กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อการศึกษาคือ กำหนดแผนการเสริมสร้างเครือข่ายการประสานงานและการทำงานร่วมกันขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน และประชาชนในท้องถิ่น ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัยยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญแก่การฝึกอบรมให้ความรู้แก่แกนนำชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างกระบวนการเรียนรู้และริเริ่มในชุมชน พัฒนาระบบรวบรวมและจัดทำข้อมูลระดับท้องถิ่นให้สอดคล้องกัน รวมทั้งให้มีเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็น สร้างกระบวนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมคิดร่วมทำพร้อมกับเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและแนวคิดอย่างต่อเนื่อง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540
                          การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นยังได้ปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์ใหม่ สำหรับใช้ในการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีสาระสำคัญเป็นการกระจายอำนาจเพื่อให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองได้ และมีอิสระในการดำเนินงาน บทบัญญัติที่ถือว่าเป็น หลักสำคัญ ในการกระจายอำนาจคือ มาตรา 78 ซึ่งปรากฏอยู่ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยมีใจความสำคัญดังนี้ (นันทวัฒน์  บรมานันท์ 2544: 17)
                         มาตรา 78 รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น
                         นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังได้กล่าวถึง สิทธิของชุมชนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นสิทธิซึ่งรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในมาตรา 46 ว่า
                        มาตรา 46 บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีและมีส่วนร่วมในการจัดการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
                         ประเด็นสำคัญของมาตราแรก กำหนดขึ้นเพื่อในเป็นแนวทางที่รัฐจะดำเนินการกระจายอำนาจปกครองไปสู่ส่วนท้องถิ่น  เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการปกครองหรือดูแลท้องถิ่นได้มากขึ้น ซึ่งจะมีผลตามมาคือเป็นการแบ่งเบาภาวะของส่วนกลาง
                        ส่วนประเด็นสำคัญของมาตราหลัง คือการให้ความสำคัญแก่ศักยภาพและบทบาทของชุมชนท้องถิ่นในฐานะเป็นผู้บำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของตนเอง และต้องบริหารจัดการโดยยึดหลักความสมดุลและยั่งยืน (นันทวัฒน์ บรมานันท์ 2544: 103)
                          การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการทรัพยากรชุมชนดังกล่าวเป็นบริบทที่ทำให้เกิดผลดีต่อการจัดการศึกษาโดยใช้ทรัพยากรชุมชน
แนวคิดการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
                           กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษามาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยมีแนวคิดและหลักการที่สำคัญดังนี้ ( ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ 2544: 1-66)
1.                เน้นการพัฒนาคนไทยให้มีศักยภาพสูงขึ้น เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม วัฒนธรรมในการดำรงชีวิตและความสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2.                การจัดการศึกษาไทย  เป็นการจัดการศึกษาตลอดชีวิต เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3.                การจัดการศึกษามีเอกภาพด้านนโยบาย มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจและมีมาตรฐานคุณภาพการศึกษาสูงขึ้น
4.                ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นครู อาจารย์ และบุคลากรมืออาชีพ
5.                มีการระดมสรรพกำลังเพื่อการจัดการศึกษา
6.                บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบันต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น
7.                จัดการศึกษาอย่างหลากหลาย มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาอย่างเหมาะสมแนวคิดและหลักการดังกล่าวข้างต้นมุ่งหวังที่จะให้การจัดการศึกษาเป็นหน้าที่ของคนไทยและการมีส่วนร่วมของทุกคนทุกองค์กร หน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการปฏิรูปการศึกษาโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมและการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อการศึกษาสรุปได้ดังนี้  (ศูนย์ปฏิบัติการปฏิรูปการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ 2544 )
1.                กรมการศึกษานอกโรงเรียน  ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาในส่วนของการปฏิรูประบบการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยหลายเรื่องหลายประการ มีประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อการศึกษาคือ การปฏิรูปแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยส่งเสริมการดำเนินงานและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ตลอดจนส่งเสริมและให้บริการแห่งการเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ ตลอดจนสร้างเครือข่ายการจัดการศึกษานอกโรงเรียน
2.                สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อการศึกษา คือการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยการจัดทำศูนย์ข้อมูลท้องถิ่น  การจัดทำโครงการนักศึกษาเครือข่าย โดยคัดเลือกนักศึกษาจากท้องถิ่นเข้ามาเรียน ใช้วิชาการพิเศษและหมอบหมายให้เป็นผู้รวบรวมข้อมูลและสื่อสารข้อมูลไปยังท้องถิ่น ผลการดำเนินงานในภาพรวมได้ผลดีระดับหนึ่ง เพราะได้สร้างบทบาทในการเข้าไปช่วยเหลือชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
3.                กรมศิลปากร  มีนโยบายกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลรักษาทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเตรียมจัดทำโครงการให้พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติและอุทยานประวัติศาสตร์เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดทำโครงการให้วิทยาลัยชุมชนเป็นสถาบันที่จะให้ความรู้แก่ชุมชนในการดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุในท้องถิ่น
4.                กรมพลศึกษา ได้เน้นแนวทางในการปฏิรูปพลศึกษาและการกีฬาเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษาของชาติไว้ 6ด้าน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อการศึกษาคือ ด้านทรัพยากรมนุษย์ และด้านโครงการบริหารและการจัดการทรัพยากร
      ในด้านทรัพยากรมนุษย์ มุ่งเน้นการปฏิรูปครู คณาจารย์ บุคลากรพลศึกษาและทรัพยากรบุคคลของชุมชน โดยมีเป้าหมายในเรื่องคุณภาพชีวิตและความก้าวหน้าในการอาชีพ จัดทำแผนพัฒนาครู คณาจารย์ บุคลากรพลศึกษาและทรัพยากรบุคคลของชุมชน มุ่งเน้นคุณภาพคู่คุณธรรมโดยคำนึงถึงความต่อเนื่องของกระบวนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และจริยธรรมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน เรียนรู้การปฏิบัติงานที่สอดรับกับเป้าหมายขององค์กร ท้องถิ่น ชุมชน
          ในด้านโครงสร้างบริหารและการจัดการทรัพยากรได้ปฏิรูปโครงสร้างการบริหารให้เป็นองค์กรหลักองค์กรกลางในการบริหาร การจัดการศึกษาด้านพลศึกษาและการกีฬาของชาติ  ส่งมอบภารกิจ อำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานและการจัดการทรัพยากรให้แก่องค์กรท้องถิ่น ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตามมาตรา 284 (3) จัดกรอบการจัดสรรอัตรากำลังสูงเขตพื้นที่การศึกษา
5.                สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ได้ดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิตด้านวิชาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน พัฒนาหลักสูตรวิชาชีพเพื่อรองรับกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลาย ส่งเสริมงานบริหารวิชาการแก่สังคม ให้ให้สถานศึกษาเป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชน สนับสนุนส่งเสริมศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และรักษาสิ่งแวดล้อมศึกษาวิจัยด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทยภูมิปัญญาไทย
6.                กรมวิชาการ  มีหน้าที่รับผิดชอบงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษาและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการปฏิรูปการเรียนรู้อย่างจริงจัง เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการใน 3 ลักษณะ คือ
6.1      การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
6.2      การพัฒนาคุณภาพครู ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาครูแกนนำให้สามารถเป็นครูต้นแบบ ปฏิรูปการเรียนรู้โดยการอบรม เข้มให้กับวิทยากรแกนนำด้านการเรียนรู้  จัดทำเอกสารเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับครูแกนนำเพื่อเป็นครูต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ และเกณฑ์คุณลักษณะของครูแกนนำ เพื่อพัฒนาเป็นครูต้นแบบ จัดทำเอกสารแนวทางการประเมินการปฏิบัติงานของครูแกนนำ จัดทำฐานข้อมูลครูแกนนำจากหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ
6.3      การพัฒนาศักยภาพโรงเรียนโดยใช้ปัจจัยองค์รวมและปัจจัยสนับสนุนเพื่อมุ่งเน้นการผนึกกำลังจากทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษาหลายชุมชนร่วมกันพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เอื้ออำนวยการทำงานของครูด้วยการสร้าความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ผ่านทางสื่อต่างๆ พัฒนาโรงเรียนแกนนำรวม 77 โรงเรียน ซึ่งกระจายอยู่ทุกเขตการศึกษาทั่วประเทศ ผลิตเอกสารเผยแพร่ จัดประชุมสัมมนาการเรียนรู้สัญจรใน  4 ภูมิภาค เพื่อผนึกกำลังให้หน่วยงานในทุกพื้นที่การศึกษาร่วมกันสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ นิเทศ เยี่ยมเยียนให้กำลังใจแก่โรงเรียนนำร่องด้านการเรียนรู้
        ผลการดำเนินงานทำให้เกิดเครือข่ายการปฏิรูปการเรียนรู้ในรูปแบบของประชาสังคมจังหวัด มีครูดี ครูเก่ง ในสังกัดต่างๆ ที่เป็นครูแกนนำเป็นต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ โดยขณะนี้มีครูแกนนำแล้วจำนวน 43,000 คน เกิดโรงเรียนนำร่องด้านการเรียนรู้ที่มีคุณภาพในกรุงเทพมหานครและในทุกเขตการศึกษาจำนวน 36 โรงเรียน เพื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างในการปฏิรูปการเรียนรู้โดยปัจจัยองค์รวม ( whole school approach ) นอกจากนั้นยังขยายผลการพัฒนาศักยภาพโดยปัจจัยองค์รวมและดำเนินการวิจัยร่วมกับโรงเรียน ครูในโรงเรียนนำร่องด้านการเรียนรู้ ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สร้างรูปแบบการเรียนรู้ สร้างโครงงาน สร้างหน่วยการเรียนรู้โดยใช้ project-based learning

7.                สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ มียุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาบุคลากรแกนนำให้เป็นบุคลากรแห่งการเรียนรู้ เป็นแกนนำในการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่บุคลากรในพื้นที่ได้
8.                กรมสามัญศึกษา  ในการปฏิรูปการเรียนรู้มีการดำเนินการที่สำคัญคือ การพัฒนาระบบทรัพยากรเพื่อการศึกษา ดังนี้
8.1      การปรับระบบงบประมาณ ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานปรับระบบงบประมาณกรมสามัญศึกษา ( ศูนย์ PBB: Performance-Based Budgeting ) มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรับผิดชอบปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา โดยมีผลการดำเนินงานคือ การวางแผนงบประมาณโดยวางแผนกลยุทธ์และแผนงบประมาณระดับองค์กร ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับโรงเรียน มีการคิดต้นทุนกิจกรรม มีการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง มีการบริหารทางการเงินและควบคุมงบประมาณ มีการรายงานผลการดำเนินงาน การบริหารสินทรัพย์และการตรวจสอบภายใน
8.2      การระดมทรัพยากร  เพื่อระดมทรัพยากรจากแหล่งเงินต่างๆ และทรัพยากรอื่นๆ เข้ามามีส่วนในการจัดการศึกษา
8.3      การปรับระบบบริหารและการจัดการศึกษา  เพื่อเป็นการเตรียมการรองรับการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการการศึกษา และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 กรมสามัญศึกษาได้กำหนดให้มีการรวมกลุ่มของโรงเรียนกลุ่มละประมาณ 5-6 โรงเรียน  ในรูปสหวิทยาเขตเพื่อร่วมมือช่วยเหลือกันทั้งด้านวิชาการและการบริหารจัดการโดยมีทั้งสิ้น 471 สหวิทยาเขต โดยให้โรงเรียนในสหวิทยาเขตทำหน้าที่ให้สอดคล้องกับคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษาในการกำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้โรงเรียนในสหวิทยาเขตดำเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายแผนและมาตรฐานการศึกษาของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
8.4      การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน เพื่อเป็นการสนองเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542  ที่ต้องการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการการศึกษาไปให้สถานศึกษาให้มากที่สุด ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน กรมสามัญศึกษาจึงได้มีการเตรียมความพร้อมของโรงเรียน ตามกรอบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานโดยมีการดำเนินการที่สำคัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น